นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) หมายถึง องค์รวมของกระบวนการบริหารซึ่งชี้บ่งภัยคุกคามต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ และการให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง BCM นั้น ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินการ การติดตาม การทบทวน การฝึกซ้อม การรักษาไว้ และการปรับปรุงระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ได้จัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
การพัฒนา BCM ตามมาตรฐาน ISO 22301 นั้นองค์กรต้องมีการเตรียมแผนรองรับภัยล่วงหน้าก่อนภัยจะมา ในการทำแผนฉุกเฉินประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ที่เรียกวา BCM Life Cycle เป็นวงจรการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ดังนี้
1. การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM Programme Management) เป็นขั้นตอนการจัดทำกรอบนโยบาย BCM โครงสร้างหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาถึงพนักงานระดับต่างๆ ในการจัดทีมงานด้าน BCM
2. เข้าใจองค์กร (Understanding the Organization) เป็นกระบวนการทำความรู้จักกับองค์กร เข้าใจถึงสภาพขององค์กรว่าจะมีผลกระทบทางธุรกิจหรือความเสี่ยงได้เท่าใดโดยผ่านวิธีการ ดังนี้
3. การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Determining BCM Strategy) เป็นการกำหนดแนวทาง และการกำหนดกลยุทธ์ในภาพรวมที่จะทำให้การเลือกกิจกรรม หรือกระบวนการที่สำคัญที่ฟื้นคืนสภาพได้ภายในระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพตามที่กำหนดไว้ และภายใต้สิ่งที่ได้เตรียมการไว้ใน BCM รวมถึงทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อการฟื้นคืนสภาพสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์และบริการ ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและในทิศทางเดียวกัน
4. การพัฒนาและจัดเตรียมวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน (Developing and Implementing BCM Response) เป็นการนำกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ไปจัดทำแผน BCM โดยต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
5. การทดสอบ ปรับปรุง และทบทวนแผน (Exercising Maintaining and Reviewing) เป็นกระบวนการที่ทำให้แน่ใจว่า BCM ที่จัดทำขึ้นสามารถใช้ได้จริง และแผนที่จัดทำมีประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ โดยองค์กรต้องดำเนินการเพื่อการปรับปรุงระบบ BCM โดยการนำการปฏิบัติการป้องกัน และการปฏิบัติการแก้ไขที่เหมาะสมกับขนาดของปัญหาและสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายในการสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจมาใช้ ดังนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ทราบถึงกระบวนการการดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับ BCM ตามมาตรฐาน ISO 22301