โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม
เรื่อง ศิลปะการพูดต่อที่ชุมชน
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2552 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
สถานที่ ห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยากร อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ที่ปรึกษาฝ่ายฝึกอบรม ประจำภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก บริษัท เอ็กซอนโมบิล(EXXONMOBIL) จำกัด
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
22 คน
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
ศิลปะการพูดต่อที่ชุมชน (Public Speaking) มีกระบวนการการพูด ดังนี้
- ผู้พูด สิ่งที่ผู้พูดควรมี เช่น บุคลิกภาพ ความเชื่อมั่น ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ การเตรียมการ
- เนื้อหาสาระ ที่ใช้ในการพูด เช่น โครงเรื่อง สาระ ตัวอย่าง ความน่าสนใจ จุดมุ่งหมาย สื่อประกอบ
- ผู้ฟัง เช่น ความสนใจ ความคาดหวัง ความรู้ ความเข้าใจ การยอมรับ ประสบการณ์
รูปเเบบการพูด
1. พูดจูงใจ (Motivational Speaking)
2. พูดบอกเล่า (Informative Speaking)
3. พูดสนุกสนาน (Entertain Speaking)
วิธีการในการพูด
1. ท่องจำ
2. พูดตามหัวข้อ
3. อ่านตามร่าง
4. พูดจากความทรงจำ
ข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการพูด
- ผู้พูดตื่นเต้น แสดงอาการประหม่าที่เห็นได้ชัด
- พูดแบบน้ำท่วมทุ่ง ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
- การพูดวกวนจนจับประเด็นอะไรไม่ถูก
- พูดแบบน่าเบื่อหน่าย ไม่มีจุดน่าสนใจ
- บรรยากาศในการพูดสับสนวุ่นวายไม่เอื้ออำนวยต่อการพูด
- การพูดไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ฟัง
- ฟังแล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าผู้พูดอธิบายหรือพูดเรื่องอะไร
สิ่งรบกวนในการพูด (Distracters)
- ระบบเสียงที่มีปัญหา
- สถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยในการพูด การฟัง
- อุณหภูมิภายในห้องไม่เหมาะสม ร้อนเกินไป
- เสียงพูดคุยของผู้ฟัง
- เสียงเครื่องมือสื่อสาร คอมพิวเตอร์
- การบริการเสิร์ฟน้ำ เสิร์ฟอาหารขณะพูด
- สิ่งรบกวนภายนอก
- สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังไปจากการพูดของผู้พูด
ปัจจัยการพูดที่ประสบความสำเร็จ
- น้ำเสียงดี มีพลัง
- ท่าทางเป็นธรรมชาติ
- สีหน้าสอดคล้อง
- สบสายตากับผู้ฟัง
- ภาษาเข้าใจง่าย
- วางโครงเรื่องดี
- มีสาระ และจุดมุ่งหมาย
- มีความกระตือรือร้นและความเชื่อมั่น
- ได้บรรยากาศ แทรกอารมณ์ขัน
เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน
- เล่าเรื่องสนุก ตลก ๆ (ห้ามหัวเราะเอง)
- หักมุมการพูด
- พูดแซวสนุกสนาน
- พลิกมุมมองที่แตกต่าง
- พูดถึงความหมายอีกด้าน
- เสียดสีตัวเอง
- พูดแบบทีเล่นทีจริง
- แกล้งพูดผิด
- หาแนวร่วมสร้างความสนุกสนาน
วงจรหายนะ
- ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี
- ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี
- เพราะฉันไม่เก่ง
- ฉันคงทำไม่ได้
- ฉันไม่ชอบเลย
- ทำไมต้องเป็นฉัน
- ฉันต้องพูดบนหน้าเวที
- มันเป็นหน้าที่ของฉันจะให้ใครแทนก็ไม่ได้
- ถ้าผิดพลาดจะทำอย่างไร
- ฉันคงเสียหายมาก
- ฉันคงโดนตำหนิแน่นนอน
การขจัดความประหม่าในการพูด
- เตรียมตัวให้พร้อม
- ซักซ้อมให้มั่นใจ
- ผ่อนคลายไม่เครียด
- ทำความคุ้นเคยกับผู้ฟัง
- หายใจลึก ๆ
- ก้าวเดินอย่างมั่นใจ
- ใจดีสู้เสือ สร้างสมาธิ
- ใช้เสียงดังเริ่มต้น
การเตรียมการพูด
1. เตรียมตัว-วิเคราะห์ผู้ฟัง >> เพศ >> วัย >> การศึกษา >> อาชีพ>> ความสนใจ ดูแลสุขภาพและเสียง วางแผนการแต่งกายให้เหมาะสม
2. เตรียมเรื่อง – รวบรวมข้อมูล เนื้อหาการพูดที่ตรงกับหัวข้อและความ สนใจ วางโครงเรื่องในการพูด เตรียมตัวอย่างและแก๊กสนุกๆ
3. ซักซ้อมการพูด – ซ้อมพูด-คนเดียวหรือเป็นกลุ่มให้เกิดความมั่นใจ จดจำเนื้อหาได้
โครงเรื่องในการพูด
คำนำ ต้องน่าตื่นเต้น เนื้อเรื่อง ต้องชวนติดตาม สรุปจบ ต้องประทับใจ
การขึ้นต้นที่ประสบความสำเร็จ เลือกขึ้นต้นด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น
- พาดหัวข่าว
- กล่าวคำถาม
- ทำให้เกิดความสงสัย
- ใช้วาทะบทกวี
- ทำให้มีความสนุกสนาน
การดำเนินเรื่องที่กลมกลืน
- ดำเนินไปตามลำดับ
- จับอยู่ในประเด็น
- เน้นจุดมุ่งหมาย
- ใช้ตัวอย่างประกอบเรื่องราว
- เร่งเร้าความสนใจ
การสรุปจบที่ประทับใจ เลือกการสรุปจบด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดแล้วแต่ความเหมาะสม
- สรุปความโดยย่อ
- ขอร้องให้กระทำ
- ฝากนำกลับไปคิด
- ใช้ภาษิตบทกวี
- เปิดเผยตอนที่สำคัญ
การพูดในโอกาสพิเศษ
- วิเคราะห์งานและวัตถุประสงค์
- เจ้าภาพเป็นใคร มีข้อมูลอะไรบ้าง
- ท่านขึ้นพูดในฐานะอะไร
- ใครมาร่วมงาน มีบุคคลสำคัญหรือไม่
- พูดถึงเจ้าภาพในทางที่ดี และให้เกียรติ
- หลีกเลี่ยงพูดเรื่องส่วนตัว หรือ หาเสียง
- ใช้เวลาที่พอเหมาะไม่ยาวหรือสั้นเกินไป
- รู้จักหลักการกล่าวอวยพร
ขั้นตอนการกล่าวอวยพรทั่วไป
1. แสดงความยินดีต่อเจ้าภาพ
2. กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับเจ้าภาพ
3. พูดถึงคุณงามความดีของเจ้าภาพ
4. ให้โอวาทและข้อคิด
5. อวยพร
การพูดจูงใจ
- ใช้จิตวิทยามวลชน
- วิเคราะห์ผู้ฟัง
- กำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
- หาจุดขาย หรือ Highlight
- พูดเรื่องใกล้ตัว
- พูดให้เห็นภาพและเข้าใจง่าย (Visualization)
- น่าเชื่อถือ และคล้อยตาม
- ปิดท้ายสู่การกระทำ (Actions)
ผลที่ได้รับ
- ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาพัฒนาการพูดของตนเอง
- สามารถนำไปใช้ในการพูดเพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้
- ทำให้รู้ว่าสิ่งไหนควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูด
- นำไปใช้ปรับปรุงการพูดในการให้บริการกับผู้รับบริการได้
Post Views: 202