นางสาวพัชรา คงเหมาะ
ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์
เนื้อหาโดยสรุป
ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
กำเนิดอาเซียนและวัตถุประสงค์การจัดตั้ง เมื่อวันที่ 8สิงหาคม 2510ณ วังสราญรมย์ (ที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN) ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of SouthEast Asian Nations ชื่อทางการ ในภาษาอังกฤษของอาเซียน ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรี-ต่างประเทศของทั้ง 5ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี
ผู้นำและการปรับตัวขององค์กรในประชาคมอาเซียน
- มีวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงได้
- มีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและเส้นทางการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน เห็นโอกาสและปัญหา
- เข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กรและสายงานของตน
- หาทางเลือกที่เหมาะสม ทั้งการสร้างพันธมิตร การสร้างเครือข่ายเพื่อประโยชน์ระยะยาว
- คำนึงถึงความเสี่ยงทั้งทางธุรกิจและทางการเมือง
การสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากร
- ทักษะทางเทคนิค(technical skill) ความรู้ในวิชาชีพ ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
- ทักษะทางความคิด (concept skill) คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผลมีหลักฐาน มองการณ์ไกล อย่ามองด้านเดียว ให้มองรอบด้าน
- ทักษะมนุษยสัมพันธ์ (human skill) ทำงานเป็นทีม ส่งเสริม สนับสนุนและสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ มีน้ำใจไมตรีต่อกัน รู้และเข้าใจเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของอาเซียน
การเตรียมความพร้อมขององค์กร
- เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) บุคลากรรพัฒนาขีดความสามารถตลอดเวลาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์
- เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (Excellent Organization) มุ่งความเป็นเลิศเป็นหนึ่งไม่เป็นรองใคร
ประโยชน์ที่ได้รับ
การปรับตัวและพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาองค์กรไม่ว่าทางด้านวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ ภาษา ความคิด สังคม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีศักยภาพ